สรุปสถานการณ์และแนวโน้มเศรษฐกิจโปรตุเกส ในช่วงครึ่งหลังของปี 2013
1. ตัวเลขทางเศรษฐกิจโปรตุเกส
1.1 การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ – รัฐบาลโปรตุเกสปรับประมาณการตัวเลขอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในทิศทางที่เป็นบวกมากขึ้น โดยปี 2013 เท่ากับ -1.8% ปี 2014 เท่ากับ 0.8% และปี 2015 เท่ากับ 1.5% ส่วน OECD คาดการณ์ตัวเลขทางเศรษฐกิจโปรตุเกส ปี 2013 เท่ากับ -1.7% ปี 2014 เท่ากับ 0.4% และปี 2015 เท่ากับ 1.1% ทั้งนี้ OECD มีมุมมองต่อเศรษฐกิจโปรตุเกสว่า ปี 2013 เศรษฐกิจโปรตุเกสยังได้รับผลกระทบจากการขาดความต้องการบริโภคภายในประเทศ แต่จะเริ่มฟื้นตัว อย่างช้าๆ ในปี 2014
1.2 อัตราการว่างงาน – OECD คาดว่าอัตราการว่างงานในปี 2013 จะเท่ากับ 16.7% และจะเริ่มลดลงในปี 2014 และ 2015 ซึ่งเท่ากับ 16.1% และ 15.8% ตามลำดับ ส่วนรัฐบาลโปรตุเกสมีมุมมองที่เป็นลบมากกว่า โดยคาดว่าอัตราการว่างงานในปี 2013 และ 2014 จะเท่ากับ 17.4% และ 17.7% ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงานรายไตรมาสเริ่มลดลง โดยไตรมาส 3 ปี 2013 เท่ากับ 15.6% ซึ่งลดลงจากไตรมาส 2 ปี 2013 ซึ่งเท่ากับ 16.4% และลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2012 ซึ่งเท่ากับ 15.8%
1.3 การนำเข้าและส่งออก – ไตรมาส 3 ปี 2013 การส่งออกของโปรตุเกสเพิ่มขึ้น 5.8% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2012 ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้น 3.6% ทำให้การขาดดุลการค้าลดลง 137.3 ล้านยูโร ทั้งนี้ ในเดือน ก.ย. 2013 การส่งออกเพิ่มขึ้น 9.8% เมื่อเทียบกับ ก.ย. 2012 และเพิ่มขึ้น 18.7% เมื่อเทียบกับ ส.ค. 2013 ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้น 3.7% เมื่อเทียบกับ ก.ย. 2012 และเพิ่มขึ้น 14.4% เมื่อเทียบกับ ส.ค. 2013
1.4 การขาดดุลงบประมาณ - โปรตุเกสอาจไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการขาดดุลงบประมาณในปี 2013-2015 โดยคาดว่า การขาดดุล งปม. จะเท่ากับ 5.7% , 4.6% และ 3.6% ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดในเงื่อนไขการขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจาก Troika ที่กำหนดไว้เท่ากับ 5.5%, 4% และ 2.5% ตามลำดับ
2. สถาบันจัดอันดับเครดิต Moody’s Investor Service ปรับอันดับพันธบัตรโปรตุเกสจาก “negative” เป็น “stable” ที่ระดับ Ba3 โดย Moody’s มีมุมมองที่เป็นบวกมากขึ้นต่อสถานะทางการคลังและสภาพเศรษฐกิจของโปรตุเกส อย่างไรก็ตาม สถาบันจัดอันดับ Standard & Poor´s ยังมีมุมมองที่เป็นลบต่อเศรษฐกิจโปรตุเกส ส่วน Fitch ยังคงมีความเป็นห่วงเกี่ยวกับผลกระทบด้านลบจากการตัดสินของศาล รธน. กรณีมาตรการปรับลดการใช้จ่ายภาครัฐใน พรบ. งปม. ปี 2014
3. ผู้แทน IMF แสดงทรรศนะเกี่ยวกับเศรษฐกิจโปรตุเกสในการประเมินผลการขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจาก Troika งวดที่ 8 และ 9 ซึ่งโปรตุเกสได้รับเงินสนับสนุนจำนวน 1,900 ล้านยูโร ว่า โปรตุเกสควรดำเนินมาตรการเข้มงวดทางการคลังต่อไปเนื่องจากมีความจำเป็นสำหรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการกลับคืนสู่ตลาดการเงินระหว่างประเทศ และเรียกร้องให้โปรตุเกสให้ความสำคัญมากขึ้นในการปฏิรูปโครงสร้างระบบการเงินและธนาคารเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ภาคเอกชน รวมทั้งแสดงความผิดหวังต่อแนวทางของรัฐบาลที่เลือกตัดการใช้จ่ายภาครัฐในร่าง พรบ. งปม. ปี 2014 ในบางสาขาแทนการปรับลดแบบ across the board โดยเฉพาะการปรับลดเงินเดือนและบำนาญของ พนง. หน่วยงานรัฐ ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงที่ศาล รธน. อาจมีคำวินิจฉัยในทางลบต่อมาตรการดังกล่าว
4. นรม. Pedro Passos Coelho ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนท้องถิ่นว่า รัฐบาลโปรตุเกสมุ่งมั่นจะกลับคืนสู่ตลาดเงินระหว่างประเทศในเดือน มิ.ย. 2014 ภายหลังสิ้นสุดการขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจาก Troika
Photo courtesy of www.dw.de
สถานเอกอัึีครราชทูต ณ กรุงลิสบอน
www.thaiembassy.org/lisbon
Facebook: www.facebook.com/rte.lisbon