ความเคลื่อนไหวของภาคส่วนต่าง ๆ ภายหลังโปรตุเกสประกาศใช้ Austerity measures เพิ่มเติม

ความเคลื่อนไหวของภาคส่วนต่าง ๆ ภายหลังโปรตุเกสประกาศใช้ Austerity measures เพิ่มเติม

วันที่นำเข้าข้อมูล 26 ก.ย. 2555

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 2,455 view

รายงานเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2555 โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลิสบอน

 

                        1. เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 55 ประชาชนโปรตุเกสในกรุงลิสบอนและเมืองสำคัญทั่วประเทศได้นัดชุมนุมประท้วงรัฐบาลที่ประกาศใช้ Austerity measures เพิ่มเติม โดยมีการประเมินจากผู้ประสานงานการชุมนุมว่า มีผู้ร่วมชุมนุมทั่วประเทศประมาณ 1 ล้านคน (โดยจำนวนผู้ชุมนุมในกรุงลิสบอนประมาณ 500,000 คน และในเมืองปอร์โต้ประมาณ 100,000 คน) ทั้งนี้ การชุมนุมประท้วงโดยทั่วไปเป็นไปอย่างเรียบร้อย แม้จะมีการขว้างปาสิ่งของบริเวณหน้าสำนักงาน IMF ใจกลางกรุงลิสบอน แต่ไม่มีรายงานความเสียหายแต่อย่างใด ทั้งนี้ สื่อมวลชนท้องถิ่นของโปรตุเกสระบุว่า การชุมนุมประท้วงครั้งนี้เป็นการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของโปรตุเกส

                        2. การประกาศใช้มาตรการฯ ของรัฐบาล ทำให้เกิดความขัดแย้งในรัฐบาล เนื่องจากพรรค ร่วมรัฐบาล CDS-PP ซึ่งมีนาย Paulo Portas (รมว.กต.โปรตุเกส) เป็นหัวหน้าพรรคแสดงความไม่เห็นด้วยกับมาตรการปรับเปลี่ยนจำนวนเงินที่จ่ายสมทบประกันสังคม ซึ่งสร้างภาระให้แก่ลูกจ้างที่ต้องจ่ายเงินประกัน สังคมเพิ่มขึ้น แต่นายจ้างจ่ายเงินสมทบน้อยลง ดังนั้น นาย Portas จึงเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณามาตรการทางเลือกอื่น ทำให้ นรม. Pedro Passos Coelho ในฐานะหัวหน้าพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย (PSD)ซึ่งเป็นแกนนำหลักของรัฐบาลเชิญผู้แทนพรรค CDS-PP เข้าหารือเพื่อปรับความเข้าใจกัน สำหรับพรรคสังคม-นิยม (PS) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านหลักที่สนับสนุนการขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจาก Troika แสดงความไม่เห็นด้วยกับมาตรการ “รัดเข็มขัด” เพิ่มเติม ประกาศว่าจะลงคะแนนเสียงคัดค้านร่าง พรบ. งปม. ปี 2013 ดังนั้น จึงสร้างแรงกดดันให้นาย Anibal Cavaco Silva ปธน. โปรตุเกส เรียกประชุมสภาที่ปรึกษาแห่งชาติ: Council of State (ซึ่งประกอบไปด้วยบุคคลสำคัญของโปรตุเกส อาทิ ประธานรัฐสภา / นรม. / ประธานศาล รธน. / ปธน.เขตปกครองตนเองหมู่เกาะอะซอเรสและมาไดร่า / อดีต ปธน.โปรตุเกส / ประธานมูลนิธิ Champalimaud / นักวิชาการ เป็นต้น) ในวันที่ 21 ก.ย. 55 เพื่อหารือเกี่ยวกับท่าทีเกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจในยูโรโซนและสถานการณ์ของโปรตุเกส ทั้งนี้ ปธน. โปรตุเกสมีอำนาจตาม รธน. สามารถยุบสภาได้ โดยต้องมีการเรียกประชุมสภาที่ปรึกษาแห่งชาติก่อน จากนั้น ปธน.จึงจะแถลงเหตุผลของการยุบสภา

                        3.  สหภาพแรงงาน CGTP ซึ่งใหญ่ที่สุดในโปรตุเกส มีสมาชิกประมาณ 700,000 คน เรียกร้องให้ ปธน.โปรตุเกสมีบทบาทในสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น และเตรียมขอเข้าพบหารือกับ ปธน. ตลอดจนยืนยันการนัดชุมนุมประท้วงในวันเสาร์ที่ 29 ก.ย. นี้ ส่วนสหภาพแรงงานอันดับสอง UGT ซึ่งมีข้อตกลงกับรัฐบาลยอมรับเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับแรงงานภายใต้ Austerity measures เรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณาทบทวนมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นภาษี โดยก่อนหน้านี้ สหภาพแรงงาน UGT ขู่จะยกเลิกข้อตกลงกับรัฐบาลเนื่องจากไม่พอใจมาตรการ “รัดเข็มขัด” เพิ่มเติมของรัฐบาล

                        4.   ทั้งนี้ ประชาชนทั่วไปนัดชุดนุมประท้วงอีกครั้งบริเวณหน้าทำเนียบ ปธน.ในวันที่ 21 ก.ย. 55 ในระหว่างการประชุมสภาที่ปรึกษาแห่งชาติ โดย จนท. ตำรวจประเมินว่าจะมีผู้มาร่วมชุมนุมประท้วงประมาณ 15,000 คน

 

 

Photo courtesy of AP, www.dw.de