วันที่นำเข้าข้อมูล 14 ม.ค. 2556
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 24 พ.ย. 2565
รายงานโดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลิสบอน เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2556
สอท. ขอรายงานเกี่ยวกับ ปธน. โปรตุเกส ส่ง พรบ. งปม. ปี 2013 ให้ศาล รธน. มีคำวินิจฉัย ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2013 ปธน. Anibal Cavaco Silva ได้กล่าวปราศัยทางโทรทัศน์ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 2013 โดยความตอนหนึ่งระบุว่า พรบ. งปม. ปี 2013 ซึ่งผ่านการพิจารณาของรัฐสภา มีเป้าหมายลดการขาดดุล งปม. ตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงไว้กับ Troika อันจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของประชาชน เนื่องจากการขึ้นภาษีและตัดลดบริการภาครัฐต่างๆ โดยทุกคนจะได้รับผลกระทบดังกล่าว แต่มีบางกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบมากกว่ากลุ่มอื่น ทำให้เกิดประเด็นเกี่ยวกับความเสมอภาคและยุติธรรมในการแบ่งปันผลกระทบดังกล่าว ปธน. โปรตุเกส จึงขอให้ศาล รธน. มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับความสอดคล้องกับ รธน. โปรตุเกส ของ พรบ. งปม. 2013
2. ทั้งนี้ คำปราศรัยของ ปธน. โปรตุเกส ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ มีประเด็นสำคัญดังนี้
2.1 ปี 2012 เป็นปีที่ยากลำบากของโปรตุเกส เนื่องจากประสบปัญหาการว่างงาน ในระดับสูง โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน ปัญหาการปิดกิจการของธุรกิจ SME และการลดการบริโภคและใช้จ่ายของครัวเรือน จึงเรียกร้องให้ชาวโปรตุเกสร่วมกันแก้ไขปัญหา “recessive spiral” โดยเร็ว
2.2 การส่งเรื่องให้ ศาล รธน. มีคำวินิจฉัยเรื่อง พรบ. งปม. 2013 (ตามนัยข้อ 1)
2.3 โปรตุเกสประสบปัญหาเศรษฐกิจเนื่องจากความไม่ยั่งยืนของภาวะหนี้สาธารณะและหนี้ต่างประเทศ โดยภาระหนี้สาธารณะเกิน GDP ของประเทศ รัฐบาลจึงมีภาระจ่ายดอกเบี้ยหนี้สาธารณะถึง 20% ของรายได้ภาษีของรัฐบาล นอกจากนี้ โปรตุเกสยังก่อหนี้ต่างประเทศจำนวนมากกว่าสองเท่าของ GDP และต้องจ่ายดอกเบี้ยจำนวนมาก ดังนั้น โปรตุเกสจึงมีความจำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจาก Troika และยืนยันจะยึดมั่นกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้กับ Troika
2.4 การปฏิบัติตามเงื่อนไขของ Troika มีเป้าหมายเพื่อรักษาระดับหนี้สาธารณะ ให้อยู่ในระดับที่ยั่งยืนและลดภาระหนี้ต่างประเทศ ด้วยมาตรการเข้มงวดการคลัง ซึ่งทำให้การผลิตสินค้าและบริการลดลง ส่งผลต่อเนื่องไปยังรายรับรัฐบาลจากภาษีที่ลดลงด้วย รัฐบาลจึงใช้มาตรการเข้มงวดฯ มากขึ้นอีก ส่งผลกระทบต่อการผลิตฯ และระบบเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง โปรตุเกสต้องยุติวงจรนี้โดยเร็ว และต้องสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนโปรตุเกสนอกเหนือจากการสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่างชาติ
2.5 สาเหตุหลักของปัญหาเศรษฐกิจโปรตุเกสคือการขาดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันโปรตุเกสได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอก ได้แก่ วิกฤตเศรษฐกิจในยูโรโซนและในสเปน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของโปรตุเกส จึงเรียกร้องให้ EU สนับสนุนการลงทุนและการสร้างศัยภาพการแข่งขันนอกจากนี้ โปรตุเกสยังมีประเด็นที่ควรขอให้ประเทศต่างๆ สนับสนุนโปรตุเกสในการสร้าความสมดุลระหว่างความเข้มงวดทางการคลังและการสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
2.6 ปธน. โปรตุเกสเรียกร้องให้ภาคการเมืองและประชาสังคมมีความรับผิดชอบต่อสังคมและมีการเจรจาหารือกันเพื่อไม่ให้โปรตุเกสถูกซ้ำเติมจากปัญหาวิกฤตทางการเมือง ทั้งนี้ ปี 2013 จะเป็นปีที่ยากลำบากอีกปีหนึ่ง แต่มีโอกาสที่โปรตุเกสจะพลิกฟื้นตัวจากปัจจัยลบและเชื่อว่าทุกฝ่ายจะช่วยกันทำให้เศรษฐกิจโปรตุเกสมีการเจริญเติบโตอีกครั้ง
3. สื่อมวลชนระหว่างประเทศและสื่อท้องถิ่นรายงานเพิ่มเติม ดังนี้
3.1 ปธน. โปรตุเกสได้อธิบายเพิ่มเติมเพื่อแสดงความห่วงกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของปรับลดเงินเดือนและสวัสดิการต่อ พนง. หน่วยงานรัฐตลอดจนการเก็บ special solidarity surcharge ของผู้รับบำนาญ ที่ได้รับเงินเดือนมากกว่า 1,350 ยูโร
3.2 พรบ. งปม. 2013 มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2013 ส่วนการยื่นเรื่องให้ศาล รธน. พิจารณานั้น ไม่มีการกำหนดกรอบเวลา โดยสื่อมวลชนท้องถิ่นคาดว่า ศาล รธน. จะมีคำวินิจฉัยประมาณเดือน ก.พ. – มี.ค. ศกนี้
3.3 หาก ศาล รธน. มีคำวินิจฉัยที่ส่งผลกระทบต่อ พรบ. งปม. รัฐบาลจะต้องออก มาตรการอื่นเพื่อหารายได้ทดแทน ซึ่งคาดว่ามีมูลค่าประมาณ 1,400 ล้านยูโร
3.4 พรรคสังคมนิยม (PS) วิจารณ์รัฐบาลว่า ขณะนี้ รัฐบาลของ นรม. Pedro Passos Coelho ซึ่งแสดงจุดยืนสนับสนุนนโยบายเข้มงวดทางการคลัง กำลังถูกโดดเดี่ยวจากฝ่ายต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่ ปธน. ซึ่งมาจากพรรค PSD ของ นรม. Passos Coelho นอกจากนี้ พรรคฝ่ายค้านและสหภาพแรงงานต่างๆ แสดงท่าทีสนับสนุนการดำเนินการของ ปธน. ในการส่ง พรบ. งปม. ให้ศาล รธน. มีคำวินิจฉัย
Photo coutesy of www.presidencia.pt